ก่อนเดินทางมาอินเดียต้องเตรียมตัวพอสมควรนะครับ ควรจะเตรียมของใช้สำคัญๆและเตรียมใจไว้ระดับหนึ่ง(ล้อเล่นนะครับ) ทางนิสโก้ทราเวลเขาทำคู่มือมาให้อย่างดีเลยครับ ใครสนใจลองไปอ่านได้ที่นี้ครับ ข้อมูลน่ารู้ก่อนไปอินเดีย
ผมออกจากบ้านประมาณบ่ายโมงถึงสนามบินบ่ายสอง เครื่องออก 4-5 โมงเย็น นั่งเคื่องบินตรงดิ่งจากรุงเทพถึงกรุงเดลลี นาน 5 ชั่วโมง กว่าจะถึงก็เป็นเวลาดึกพอสมควรครับ ทางนิสโก้จัดรถตู้ขนาดเล็กนั่งได้ 10 คนมารับเราไปยังที่พักใกล้ๆสถานีรถไฟซัฟดาจัง (Safdarjung) ซึ่งเป็นสถานีพิเศษแยกต่างหากกับสถานีทั่วไปนะครับ งงมากที่ทางการอินเดียทำรถไฟสายนี้ให้เป็นอะไรที่พิเศษไปหมด ดูๆไปก็เหมือนแบ่งแยกชนชั้นเหมือนกันนะครับ … แต่ อ๋อ ลืมไปว่าที่นี้ เขาแบ่งชนชั้นกันจริงๆละครับ ไม่ต้องกระแด่ะบอกว่าเป็นไพร่เป็นอำมาตย์ ที่คนเลวบ้านเราบางคนแอบอ้างเอามาเป็นประเด็นกันจนวุ่นวาย มีแต่พวกโง่ละครับที่ไปหลงประเด็นการแบ่งชนชั้นในบ้านเราซึ่งมันไม่มีจริงๆ แต่ที่อินเดียเขามีจริงๆครับ
กลับสู่การเดินทางมาอินเดียก่อนจะออกทะเลไปมากกว่านี้ 55+ เช้าวันรุ่งขึ้นพอมีเวลาทางคุณมินต์จัดให้ผมและคณะได้ไปเที่ยวกันที่ กุตุบมินาร์ (Qutub Minar) หอแห่งชัยชนะหรือที่เคยรู้จักกันในชื่อปฤถวีสตัมภ์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1193 โดยกษัตริย์มุสลิมองค์แรกของอินเดียคื สุลต่านกุตับอุดดินไอบัก (Qutub ud-din Aibak) ทรงสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะของพระองค์เหนือเหล่ากษัตริย์ฮินดูทั้งปวง แทนที่จะทำลาย พระองค์กลับทรงต่อเติม หอชมพิธีตามคติฮินดูที่เป็นของมหาราชา ปถถวีราช กษัตริย์ฮินดูองค์สุดท้าย โดยการผสมผสานงานศิลปะในแบบฮินดูและมุสลิมเข้าไว้ด้วยกัน
…เป็นสิ่งที่แปลกที่เราจะพบลวดลายจารึกอักษรอารบิกจากบทสวดในพระคัมภีร์โกหร่านบนหอสูง แต่ในบริเวณใกล้ๆกันก็พบเสาเหล็กกลมที่มีลายสลักเป็นภาษาสันสกฤต และร่องรอยศิลปะฮินดูอื่นๆ เช่น รูปสลักหิน ครุฑ นาค
นัยที่ซ่อนอยู่ ณ Qutub Minar ทำให้เข้าใจได้ว่า ผู้ที่เข้าใจในหลักศาสนาอันแท้จริงแล้ว ย่อมไม่พึงเป็นผู้ทำลาย … หากแต่รู้จักที่จะอยู่ร่วมและผสมผสานความเชื่อทั้งที่เหมือนและที่แตกต่างเข้าไว้ด้วยกันครับ
ภาพลายแกะสลักหินอันวิจิตร
ภาพ Qutub Minar หอแห่งชัยชนะ
จากที่นี้คุณมินต์พาไปเที่ยวต่อที่ สวามินารายัน อัคซาร์ดาห์ม (Swaminarayan Akshardham) มหาวิหารอันวิจิตรตระการตาผสมผสานลักษณะทางสถาปัตยกรรมอันหลากหลายของอินเดียเข้าด้วยกัน มีพื้นที่ทั้งหมด 30 เอเคอร์ ใช้เวลาก่อสร้างนาน 5 ปีโดยช่างและสถาปนิกจำนวน 7000 คน เป็นสถาปัตยกรรมอันน่าทึ่ง สวยงามจากทุกมุมมอง .. ที่อัคซาร์ดาหม์เขาห้ามไม่ให้เรานำกล้องถ่ายรูปหรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือใดๆเข้าไปได้เลยครับ ของทุกอย่างต้องถูกฝากไว้ด้านนอก พกได้แต่กระเป๋าเงินและพาสปอร์ตเข้าไปได้เท่านั้นครับ ใครอยากรู้ว่า มหาวิหารแห่งนี้สวยงามเพียงใด ไปดูได้ตามลิงค์เลยนะครับ http://www.akshardham.com/
เที่ยวเสร็จก็ได้เวลาอาหารกลางวัน มื้อนี้เป็นอาหารจีน ที่อร่อยไม่แพ้บ้านเราเลยครับ และแน่นอนว่า เรากินอาหารกันอย่างราชาเลยทีเดียว กับข้าวเหลือเพียบจนเสียดายอยากจะห่อกลับไปกินต่อบนรถไฟ แต่ก็ไม่ได้ห่อหรอกครับ เกรงใจทางนิสโก้ 55+ จากนี้เราก็เดินทางด้วยรถตู้ไปยังสถานีรถไฟซัฟดาร์จัง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากร้านอาหารมากนัก
ที่สถานีรถไฟจะมีพนักงานของการรถไฟอินเดียมาช่วยยกสัมภาระข้าวของให้ พร้อมกับต้อนรับเราด้วยดนตรี ปี่พาทย์แบบแขก ทางเดินไปสถานีปูด้วยหรมหรูสีแดง มีพวงมาลัยดอกเบญมาศพวงใหญ่และน้ำชา กาแฟไว้บริการ ไม่ต่างจากที่เราเป็นมหาราชาเลยละครับ
เวลาบ่ายสามโดยประมาณรถไฟก็มาถึงและเราได้ขึ้นไปยังตู้นอนของเรา ตู้นอนปรับอากาศหมายเลข A1 … ความประจับใจที่เดินทางมากับนิสโก้อีกครั้ง คือ ปกติ ตู้นอน 1 บล็อค จะมีผู้โดยสารได้ถึง 6 คน ในห้องจะมีเตียงแยกซ้ายขวา บนล่าง รวม 4 เตียง และมีเตียงนอกห้องอีก 2 เตียง แต่ทางนิสโก้จัดให้เรา 1 บล็อคเพียง 2 คนเองครับ สอบถามคุณมินต์ เธอบอกว่า ทางทัวร์ต้องจ่ายเงินเพิ่มให้การรถไฟอินเดียพิเศษในกรณีนี้ ทั้งนี้เพราะทราบดีว่าจะสะดวกสบายและเป็นส่วนตัวมากกว่า จึงจัดห้องพักโดยสารให้เป็น บล็อคละ 2 คนเท่านั้น นี้ละครับ การเดินทางมาอินเดียของผม ช่างสะดวกสบายแบบมหาราชาจริงๆ ครับ :)